โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่อไม่สามารถนำไปใช้ได้ น้ำตาลคลูโคสจึงเกิดการสะสมอยู่ในเลือดเป็นปริมาณสูง ส่งผลเสียต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานนั่นเอง
โรคเบาหวานในระยะแรกมักไม่แสดงอาการเตือนให้เห็น หลังจากนั้นอาจมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด หรือจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น และเมื่อผู้ป่วยไปตรวจโรคแทรกซ้อน จึงค้นพบโรคเบาหวาน ปัจจุบันสามารถตรวจภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และตรวจระดับน้ำตาลสะสม
ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)
ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกาย สร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในตับอ่อนที่ชื่อว่า เบต้า (Beta cells) มีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย โดยการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล เพื่อเปลี่ยนให้เป็นรูปของพลังงานเข้าไปสู่กล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
ลักษณะอาการของโรคเบาหวานเบื้องต้น
ปกติแล้ว โรคเบาหวาน มักไม่แสดงอาการออกมาให้รับรู้ แต่ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้จากภาวะต่างๆ ในร่างกาย โดยมีลักษณะอาการดังนี้
ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น หากเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นและหิวน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืนจะกระหายน้ำมากกว่าเดิม นี่เป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลที่มีอยู่สูงในเลือดออกมาทางปัสสาวะ
น้ำหนักลด น้ำหนักที่ลดผิดปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดก็ได้ โดยเฉพาะเบาหวาน การมีน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้น้ำหนักลดลงเร็วมาก ประมาณ 5-10 กิโลกรัมภายใน 2-3 เดือน
บาดแผลหายช้า หากมีแผลที่บริเวณผิวหนัง เช่น มีดบาด การติดเชื้อ หรือรอยฟกช้ำ และแผลหายช้ามาก นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกให้รู้ว่า คุณอาจเป็นโรคเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงของผู้ป่วยเบาหวานจะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด
หิวบ่อย กินจุบจิบ ถ้าเกิดหิวบ่อยและกินจุบจิบขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุ คุณอาจเป็นเบาหวานแล้วก็ได้ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้ร่างกายต้องการอาหารเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งสัญญาณเป็นความหิวนั้นเอง
อ่อนเพลีย อารมณ์ไม่คงที่ อาการอ่อนเพลียและอารมณ์ฉุนเฉียวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลต่อการทำงานทุกระบบ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย
ภาวะแทรกซ้อนสำคัญของ โรคเบาหวาน
เบาหวานขึ้นตา เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในดวงตาโป่งพอง จึงทำให้เกิดเลือดและน้ำเหลืองซึมออกมาจากหลอดเลือดบริเวณนั้น หากไม่รักษาจะทำให้จอตาขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากปริมาณน้ำเหลืองและเลือดที่ซึมออกมามากเกินไป ปล่อยไว้นานๆ อาจทำให้เซลล์รับรู้ในจอตาเสียหาย ส่งผลให้มองเห็นได้ไม่ชัด
การติดเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะ สารคัดหลั่งในช่องคลอดจะมีน้ำตาลกลูโคสมากกว่าปกติจากการที่มีน้ำตาลสูงในกระแสเลือด ทำให้ยีสต์เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำตาลมากจนกลายเป็นการติดเชื้อ อาจหมายถึงยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หรือแสดงถึงการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis) หรือ DKA คือ ภาวะเลือดเป็นกรดด้วยคีโตนจากเบาหวาน เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานได้ จึงย่อยสลายไขมัน เพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานทดแทน แต่ได้สารคีโตนซึ่งเป็นกรดออกมาร่วมด้วย
ภาวะเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก (Brittle diabetes หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Labile diabetes) ใช้เรียกเบาหวานประเภทที่หนึ่งที่ควบคุมไม่ได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดนี้จะมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เปลี่ยนแปลงสูงต่ำอย่างมาก
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่าปกติ (น้อยกว่า 72 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ส่งผลให้ร่างกายไม่มีพลังงานเพียงพอสำหรับกิจกรรมต่างๆ มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาหรือฉีดยารักษาเกินขนาด หรือช่วงที่มีอาการเจ็บป่วยแล้วทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่เลือดมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางรายอาจสูงมากกว่า 200 300 หรือ 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรีบลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น ดื่มน้ำแก้วใหญ่ ออกกำลังกาย เป็นต้น
bn coffee lutein plus, กาแฟbn, bn coffee, bn coffee cal sea plus, ข้อเข่าเสื่อม, ปวดหลัง, ปวดสะโพก, bn coffee, ชาเพื่อสุขภาพ, bn coffee cal sea plus, ชามือ ชาเท้า, บรรเทาอาการปวด, ปวดข้อเข่า, กาแฟBNเหมาะกับใคs, ข้อเข่าเสื่อมมีเสียงดังในข้อ, ปวดเกร็งตึงคอบ่าไหลปวดหลังเก๊าท์, กsะดูกทับเส้นกsะดูกพรุน
16 กันยายน 2562
ปัจจัยที่ทำให้เป็น โรคความดันสูง
ปัจจัยที่ทำให้เป็น โรคความดันสูง
อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป
อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ โรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป
เชื้อชาติ มักพบในคนเชื้อชาติฝั่งประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย
เพศ เพศชายมักพบในวัยกลางคนประมาณ 45 ปีขึ้นไป ในขณะที่เพศหญิงจะพบมากในช่วงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น โรคความดันสูง มีโอกาสเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
อาหารโซเดียมสูงหรือโพแทสเซียมต่ำ การรับประทานอาหารมีโซเดียมสูงจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น ในขณะที่อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยจะช่วยให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้นเช่นกัน
การสูบบุหรี่หรือยาสูบ สารพิษที่อยู่ในบุหรี่และยาสูบเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิต ในร่างกายให้สูงขึ้น รวมไปถึงทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตัน หัวใจจึงต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้จากควันบุหรี่ก็ได้รับผลเสียเช่นเดียวกับผู้ที่สูบ
การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและขาดออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้หัวใจต้องใช้แรงดันเพิ่มมากขึ้น
โรคประจำตัว บางชนิดอาจส่งผลต่อ ความดันโลหิตที่สูง มากขึ้น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีปัญหาด้านการนอน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ความเครียดสะสม การดื่มแอลกอฮอล์เกินพอดี การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ
BN Coffee cal sea plus
อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป
อายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ โรคความดันสูงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ประมาณ 45-60 ปีขึ้นไป
เชื้อชาติ มักพบในคนเชื้อชาติฝั่งประเทศตะวันตกมากกว่าเอเชีย
เพศ เพศชายมักพบในวัยกลางคนประมาณ 45 ปีขึ้นไป ในขณะที่เพศหญิงจะพบมากในช่วงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น โรคความดันสูง มีโอกาสเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
อาหารโซเดียมสูงหรือโพแทสเซียมต่ำ การรับประทานอาหารมีโซเดียมสูงจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิตในร่างกายให้สูงขึ้น ในขณะที่อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยจะช่วยให้ร่างกายไม่สามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่มีปัญหาน้ำหนักเกินจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากระบบหมุนเวียนเลือดต้องขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปให้เนื้อเยื่อภายในร่างกายมากขึ้น หัวใจต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดมากขึ้นเช่นกัน
การสูบบุหรี่หรือยาสูบ สารพิษที่อยู่ในบุหรี่และยาสูบเหล่านี้จะเพิ่มความดันโลหิต ในร่างกายให้สูงขึ้น รวมไปถึงทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดการตีบตัน หัวใจจึงต้องใช้แรงดันในการส่งเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับสารเหล่านี้จากควันบุหรี่ก็ได้รับผลเสียเช่นเดียวกับผู้ที่สูบ
การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและขาดออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้หัวใจต้องใช้แรงดันเพิ่มมากขึ้น
โรคประจำตัว บางชนิดอาจส่งผลต่อ ความดันโลหิตที่สูง มากขึ้น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีปัญหาด้านการนอน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ รวมด้วย เช่น ความเครียดสะสม การดื่มแอลกอฮอล์เกินพอดี การได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ
BN Coffee cal sea plus
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)